วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผู้จัดทำ


 

น.ส.วรัญตี  การะเกตุ   ปวท. ปี1  วิทยาศาสตร์ศึกษา  KU

สรุป


       กล้วยไม้   มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "orchid" น่าแปลกที่ทั้งในภาษาไทยและอังกฤษต่างก็มีความหมายใกล้เคียงกัน เราเรียกพืชชนิดนี้ว่า กล้วยไม้ เพราะมีลักษณะ คล้ายกล้วย ได้แก่เอื้องต่าง ๆ เช่น เอื้องผึ้ง หรือเอื้องคำ ซึ่งมีมากในแถบภาคเหนือของประเทศ ส่วนของกล้วยไม้บางตอนมีลักษณะคล้ายผลกล้วยเราเรียกว่า ลำลูกกล้วย คำ "orchid" นั้น มาจากภาษากรีกหมายความถึงลักษณะโป่งเป็นกระเปาะคล้ายต่อมชื่อนี้ก็คงจะได้มาจากการพิจารณาจากลำลูกกล้วยที่เป็นส่วนของกล้วยบางชนิดเช่นเดียวกันแต่ลักษณะพื้นฐานทาง พฤกษศาสตร์ ที่บรรยายลักษณะพืชในวงศ์กล้วยไม้ ได้ยึดถือรายละเอียดต่าง ๆ ของดอกเป็นหลักสำคัญพันธุ์ไม้ในวงศ์กล้วยไม้ด้วย
       กล้วยไม้มีสภาวะความเป็นอยู่ตามธรรมชาติแตกต่างกัน บางชนิดอยู่บนพื้นดินบางชนิดอยู่บนต้นไม้ และบางชนิดขึ้นอยู่บนหินที่มีหินผุและใบไม้ผุ ตกทับถมกันอยู่ ทั้งนี้สุดแล้วแต่ลักษณะและอุปนิสัยของกล้วยไม้แต่ละชนิด ซึ่งจะปรับตัวตามความเหมาะสมกับสภาวะและการเปลี่ยนแปลงตามสภาพต่าง ๆ ของธรรมชาติที่แวดล้อม

       ดังนั้นจากการที่นักเรียนได้ทำการศึกษากล้วยไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น  ทำให้นักเรียนได้รับความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของระบบนิเวศของกล้วยไม้ว่ามีสภาพการดำรงชีวิตอย่างไร  มีสัตว์ชนิดใดมารบกวนหรืออาศัยอยู่ร่วมกันกับกล้วยไม้ได้  ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ในการปรับตัวที่จะมีชีวิตรอดของสิ่งมีชีวิต  ซึ่งอาจนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
  
กล้วยไม้แต่ละชนิดต่างก็มีลักษณะและระบบของรากที่เข้ากับสิ่งที่ไปอาศัยพักพิงอยู่อย่าง เหมาะสมที่สุด กล้วยไม้ชนิดที่ขึ้นอยู่ บนดินรากจะมีลักษณะเป็นหัวและอวบอิ่มไปด้วยน้ำจึงมีศัพท์ เฉพาะที่บรรยายลักษณะของรากเช่นนี้ว่า "อวบน้ำ" กล้วยไม้ประเภทนี้มีอยู่ หลายสกุล เช่น สกุลฮาเบนาเรีย (Habenaria )เพ็คไทลิส ( Pecteilis ) และ แบรคคีคอไรทิส (Brachycorythis ) ซึ่งในประเทศที่มี ฤดูหนาวมีหิมะตกทับถมบนพื้นดินหนามาก และเป็นเวลานานหลายเดือนด้วย แต่กล้วยไม้เหล่านี้ก็คงทนอยู่ได้เนื่องจากมีความสามารถพิเศษ ในการปรับ ลักษณะของตัวเองให้ เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของฤดูกาลที่ปรากฏเป็นประจำในรอบปีได้ กล่าวคือเมื่อ ถึงฤดูที่อากาศหนาว จัดหรือแห้งจัดต้นและใบที่อยู่เหนือพื้นดินจะแห้งไป คงเหลือแต่หัวฝังตัวอยู่ภาย ใต้ผิวดินครั้งพอถึงฤดูที่สภาพแวดล้อม เหมาะสมก็จะเจริญขึ้นมาเป็นต้นและใบเมื่อเจริญเต็มที่ก็จะ ผลิดอกและสร้างหัวใหม่เพื่อเก็บสะสมอาหารไว้ใต้ผิวดินอีกเมื่อหัวใหม่เจริญเต็ม ที่ส่วนต้น ใบ และดอกเหนือผิวดินก็จะถึงเวลาแห้งเหี่ยวพอดี ส่วนหัวจะพักรอเวลาที่อากาศเหมาะสมก็จะเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ดังนี้เรื่อยไป นอกจากกล้วยไม้ดิน ซึ่งมีหัวเป็นที่สะสมอาหารใต้ดินแล้ว ยังมีกล้วยไม้ประเภทไม่มีหัวและชอบขึ้นอยู่บนหินภูเขาที่มีเศษหินผและเศษใบไม้ ผุทับถมกันอยู่หนาพอสมควรเป็นกล้วยไม้ในสกุลพาฟิโอเพดิลัม (Paphiopedilum ) หรือที่คนไทยเรียกกันว่า กล้วยไม้รองเท้านารี และยังมีบางประเภทซึ่งเกาะ อยู่บนคาคบไม้ ซึ่งจะพบได้ในเขตร้อน เช่น กล้วยไม้ในสกุล แวนดา (Vanda ) แคทรียา (Cattleya ) และ สกุล เดนโดรเบียม (Dendrobium ) หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า สกุลหวาย กล้วยไม้ประเภทนี้จะมีลักษณะแปลกออกไปคือ มีรากใหญ่ ยาว และแตกแขนงรากอย่างโปร่ง ๆ เป็นรากอากาศแม้จะเกาะกับต้นไม้ก็จะมีส่วนที่ยาวและห้อยลงมาในอากาศด้วย แต่รากกล้วยไม้ สกุลแคทรียาและ เดนโดรเบียมมีลักษณะค่อนข้างเล็ก ละเอียดและหนาแน่นไม่โปร่งอย่างแวนด้า บางตำราจึงแยกกล้วยไม้สกุลแคทรียาและ เดนโดรเบียมไปไว้ในประเภทกึ่งอากาศ กล้วยไม้ที่เกาะอยู่ตามต้นไม้ มิใช่กาฝาก เป็นเพียงอาศัยเกาะ และอาศัยร่มเงาจาก กิ่งและใบ ของต้นไม้เท่านั้น มิได้แย่งอาหารใดๆ จากต้นไม้ที่อาศัยเกาะนั้นเลยรากของกล้วยไม้ได้อาศัยความชื้นจากอากาศ หรือ จากเปลือก ของต้นไม้และอาศัยธาตุอาหารต่าง ๆ จากการผุ และสลายตัวของใบไม้ที่ผุเปื่อยแล้วกล้วยไม้เป็นต้นไม้ที่มีสีเขียว เช่น เดียวกับต้นไม้ทั่วไป จึงมีความต้องการแสงสว่าง น้ำ หรือ ความชื้น ธาตุอาหาร และอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อการดำรงชีวิต การเจริญเติบโตและผลิดอกออกช่อตามเวลาอันสมควร ไม่แตกต่างไปจากต้นไม้อื่น ๆ เลย

ประเมินผล

  • ช่วงสืบค้นข้อมูลพื้นฐาน    การรวบรวมข้อมูลในการทำงาน  ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล  การอ้างอิงข้อมูลที่สืบค้น

  • ช่วงการสร้างผลงาน   การวางแผนการทำงาน  ขั้นตอนการทำงาน  ทักษะการวิเคราะห์  แยกแยะ  ฯลฯ

  • ช่วงสิ้นสุดและการนำเสนอ    ความถูกต้องและความชัดเจนของการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  รายงาน  แบบจำลองการขยายพันธุ์กล้วยไม้   ซึ่งทำการประเมินโครงงานด้วย rubics



  • แหล่งข้อมูล

    ภาระงานที่ 1

    http://www.panmai.com/Orchid/orchid1.shtml


    ภาระงานที่ 2

    http://www.panmai.com/Orchid/orchid2.shtml

    แหล่งเรียนรู้ในชุมชน


    ภาระงานที่ 3

    http://www.panmai.com/Orchid/orchid4.shtml

    แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

    ปราชญ์ชาวบ้าน


    ภาระงานที่ 4

    http://www.panmai.com/Orchid/orchid7.shtml

    http://www.panmai.com/Orchid/orchid5.shtml

    แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

    ปราชญ์ชาวบ้าน

    กระบวนการ

    ภาระงานที่ 1
    นักเรียนสามารถศึกษาชื่อสกุล  ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วยไม้  แหล่งกำเนิดกล้วยไม้  การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทยได้จาก
         -  หนังสือพันธุ์กล้วยไม้
         -  หนังสือสารานุกรม
    จัดทำอัลบั้มภาพออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Photopeach พร้อมกับบรรยายเนื้อหาต่าง ๆ และนำเสนอหน้าชั้นเรียน

    ภาระงานที่ 2
      -  ให้นักเรียนเลือกกล้วยไม้ที่ตนเองสนใจ  โดยให้นักเรียนจับคู่กันศึกษากล้วยไม้จำนวน  1  สายพันธุ์  ซึ่งควรจะเป็นกล้วยไม้ที่มีในท้องถิ่น 
      -  จากนั้นให้นักเรียนนำกล้วยไม้มาศึกษาส่วนประกอบต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นราก  ลำต้น  ช่อดอก  ดอก  เกสร  ผลหรือฝัก  โดยให้นักเรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียน  ซึ่งนักเรียนสามารถใช้โปรแกรมการนำเสนอได้อย่างอิสระ

    ภาระงานที่ 3
      -  ให้นักเรียนที่จับคู่กันศึกษาว่าในท้องถิ่นมีกล้วยไม้สายพันธุ์ใดบ้าง  โดยให้นักเรียนรวบรวมมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  โดยนำภาพมานำเสนอด้วยโปรแกรม photostory
      -  นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ว่ากล้วยไม้ที่พบในท้องถิ่นเป็นสายพันธุ์ทั่วไปหรือสายพันธุ์หายาก  แล้วทำการสรุป
    ภาระงานที่ 4
      ให้นักเรียนจำลองวิธีการปลุกกล้วยไม้  ซึ่งวิธีการที่จัดทำขึ้นต้องสามารถขยายพันธุ์ได้จริง  โดยนักเรียนต้องสร้างเป็นแบบจำลองมาส่งครูพร้อมรายงานประำกอบ


    ภาระงาน

    ภาระงานที่ 1

      ให้นักเรียนศึกษาชื่อสกุล  ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วยไม้ 
       แหล่งกำเนิดของกล้วยไม้  การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ใน
       ประเทศไทย

    ภาระงานที่ 2
      ให้นักเรียนเลือกกล้วยไม้ในท้องถิ่นที่ตนเองสนใจ  มาศึกษา
       ลักษณะ  ส่วนต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็น  ราก  ลำต้น  ช่อดอก  ดอก 
       เกสร  ผลหรือฝัก

    ภาระงานที่ 3
       ให้นักเรียนสืบค้นกล้วยไม้ในท้องถิ่นว่ามีสายพันธุ์ใดบ้าง  แล้วนำมาวิเคราะห์ว่าสายพันธุ์ใดเป็นสายพันธุ์ทั่วไปหรือสายพันธุ์หายาก

    ภาระงานที่ 4
    ให้นักเรียนจำลองวิธีการปลูกกล้วยไม้ที่สามารถขยายพันธุ์ได้ดี

    บทนำ


    กล้วยไม้ (Orchid) เป็นพืชวงศ์ใหญ่ที่มีดอกสวยงาม มีความหลากหลายทั้งสีสันลวดลาย ขนาด รูปทรง และกลิ่น เรียกได้ว่าเป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง มีมากกว่า 800 สกุล พบในธรรมชาติมากกว่าสองหมื่นชนิด ด้วยความสวยงามและความหลากหลายทำให้กล้วยไม้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก มีการปรับปรุงสายพันธุ์โดยการผสมข้ามชนิดข้ามสกุลมากกว่าสามหมื่นคู่ผสม ทำให้กล้วยไม้มีความสวยงามและหลากหลายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากนำ  เรื่อง  กล้วยไม้  มาใส่ในบทเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้  นักเรียนก็สามารถศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนได้เป็นอย่างดี  เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตในท้องถิ่นของตน  หาวัสดุอุปกรณ์ได้ง่าย  อีกทั้งนักเรียนยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน


      



    จุดประสงค์การเรียนรู้

        1.  เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่จะนำมาศึกษาได้อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามจุดมุ่งหมายของงานแต่ละชิ้น

        2.  เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกประวัติ  ลักษณะของกล้วยไม้  และพันธุ์กล้้วยไม้ได้

        3.  เพื่อให้นักเรียนสามารถปลูกและขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยตนเองได้

        4.  เพื่อให้สามารถสามารถนำำกล้วยไม้มาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าให้กับท้องถิ่นได้

        5.  เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงปัญหาการสูญพันธุ์ของกล้วยไม้จากสาเหตุต่าง ๆ

        6.  เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียนเกิดความรู้สึกรักท้องถิ่น ประเทศชาติ และ โลก



     แนะนำบทเรียน

        ภายใน WebQuest มีส่วนประกอบทั้งหมด 6 ส่วนดังนี้

        ส่วนที่ 1 : บทนำ         ภายในประกอบด้วย บทนำ จุดประสงค์การเรียนรู้ และ แนะนำบทเรียน
        ส่วนที่ 2 : ภาระงาน    ภายในประกอบด้วย  คำสั่ง+คำอธิบาย, แหล่งข้อมูล   และเกณฑ์การประเมินผลชิ้นงานของแต่ละภาระงาน  
       ส่วนที่ 3 : กระบวนการ     ภายในประกอบด้วยรายละเอียดของกระบวนการในแต่ละชิ้นงาน
       ส่วนที่ 4 : แหล่งข้อมูล     
    ภายในประกอบด้วย แหล่งข้อมูล โดยจำแนกตามภาระงาน
       ส่วนที่ 5 : ประเมินผล       ภายในประกอบด้วยเกณฑ์การประเมินผลของแต่ละชิ้นงาน
       ส่วนที่ 6 : สรุป                   เมื่อคลิ๊กเข้าไปจะพบสรุปบทเรียน